วันพฤหัสบดีที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2556


การคูณ คือการดำเนินการทางคณิตศาสตร์อย่างหนึ่ง ทำให้เกิดการเพิ่มหรือลดจำนวนจำนวนหนึ่งเป็นอัตราการคูณเป็นหนึ่งในสี่ของการดำเนินการพื้นฐานของเลขคณิตมูลฐาน
ตัวอย่างสถานการณ์ที่แสดงถึงความหมายของการคูณ
1. การคูณในแง่ของการบวกซ้ำ ๆ กันของจำนวนที่เท่ากัน หรือการรวมกันของกลุ่มที่เท่ากัน เช่น
3 + 3 + 3 + 3 = 4 ×3 หรือ 4 กลุ่มของ 3 มีนักเรียน 3 กลุ่ม กลุ่มละ 5 คน
ดังนั้นมีนักเรียน 3×5 = 15 คน
2. การคูณในแง่ของอัตรา เช่น
รถยนต์แล่นเป็นเวลา 4 ชั่วโมงด้วยอัตราเร็ว 60 กิโลเมตรต่อชั่วโมงแล้ว รถยนต์จะแล่นได้ระยะทางทั้งหมด 4×60 = 240 กิโลเมตร ถ้าสมุดราคาเล่มละ 8 บาทแล้ว สมุด 3 เล่มจะราคา 3×8 = 24 บาท
3. การคูณในแง่ของการเปรียบเทียบว่าเป็นกี่เท่า เช่น
ตาลมีตุ๊กตาหมี 4 ตัว ติ๋วมีตุ๊กตาหมีเป็น 3 เท่าของตาล ดังนั้นติ๋วมีตุ๊กตาหมี 3×4 = 12 ตัว
4. การคูณในแง่ของการหาพื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมมุมฉากโดยการนับตารางหน่วย เช่น
กำหนดให้ 1 ช่อง แทนพื้นที่ 1 ตารางหน่วย รูปสี่เหลี่ยมมุมฉากที่ประกอบด้วยตารางที่มี 3 แถว
แต่ละแถวมี 7 ช่อง จะมีพื้นที่ 3×7 = 21 ตารางหน่วย
5. การคูณในแง่ของการหาจำนวนแบบของการจับคู่ที่เป็นไปได้ทั้งหมด เช่นถ้ามีเสื้อ 2 ตัว กับ กางเกง 3 ตัว จะสามารถจับคู่เสื้อกับกางเกงแบบต่าง ๆ กันได้ทั้งหมด 2×3 = 6 แบบที่มาhttps://sites.google.com/site/krumiw/bth-thi-6-kar/1-khwam-hmay-khxng-kar-khun-วันที่3กันยายน 2556                                    

ปริมาตรพีระมิด


ปริมาตรพีระมิด
พีระมิด (Pyramid) คือ ทรงสามมิติที่มีฐานเป็นรูปเหลี่ยมใดๆ มียอดแหลมซึ่งไม่อยู่บนระนาบเดียวกับฐาน และหน้าทุกหน้าเป็นรูปสามเหลี่ยมที่มีจุดยอดร่วมกันที่ยอดแหลมนั้น
นิยมเรียกชื่อพีระมิดตามลักษณะของฐาน เช่น พีระมิดฐานสามเหลี่ยม พีระมิดฐานสี่เหลี่ยมผืนผ้า พีระมิดฐานหกเหลี่ยมด้านเท่า เป็น
พีระมิดแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ พีระมิดตรง และ พีระมิดเอียง
พีระมิดตรง หมายถึง พีระมิดที่มีฐานเป็นรูปเหลี่ยมด้านเท่าทุกมุม มีสันยาวเท่ากันทุกเส้น จะมีสูงเอียงทุกเส้นยาวเท่ากัน และส่วนสูงตั้งฉากกับฐานที่จุดซึ่งอยู่ห่างจากจุดยอดมุมของรูปเหลี่ยมที่เป็นฐานมีระยะเท่ากัน มีหน้าทุกหน้าเป็นรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่ว ส่วนกรณีที่มีสันทุกสันยาวไม่เท่ากัน สูงเอียงทุกเส้นยาวไม่เท่ากัน เรียกว่า พีระมิดเอียง
พื้นที่ผิวของพีระมิด
พื้นที่ของหน้าทุกหน้าของพีระมิดรวมกัน เรียกว่า พื้นที่ผิวข้างของพีระมิด และพื้นที่ข้างของพีระมิดรวมกับพื้นที่ฐานของพีระมิด เรียกว่า พื้นที่ผิวของพีระมิด
ปริมาตรพีระมิด
ตัวอย่าง 1 : จงหาปริมาตรของพีระมิดตรงฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัส ที่มีด้านฐานยาวด้านละ 22 เซนติเมตร ส่วนสูง 15 เซนติเมตร
วิธีทำ   สูตร ปริมาตรของพีระมิด =  1/3  × พื้นที่ฐาน × สูง
ได้ปริมาตรของพีระมิดนี้ =   1/3  × ( ด้าน × ด้าน ) × สูง
=    1/3  × ( 22 × 22 ) × 15
=    22  × 22  ×  5
=  2,420  ลูกบาศก์เซนติเมตร



เซต


เซต 
ใช้แทนกลุ่มของคน,สัตว์,สิ่งของ หรือสิ่งที่เราสนใจ เราใช้เครื่องหมายปีกกา“{ } ”
แสดงความเป็นเซต และสิ่งที่อยู่ภายในปีกกา  เราเรียกสมาชิกของเซต
<!--[if !vml]--><!--[endif]-->
เซตที่เท่ากัน 
เซต 2 เซตจะเท่ากันก็ต่อเมื่อจำนวนสมาชิกและสมาชิกของทั้ง 2 เซต เหมือนกันทุกตัว
เช่น A={1,2,3}          B={1,2,3}     จะได้ A=B

เซตที่เทียบเท่ากัน  <!--[if !vml]-->
เซต 2 เซตจะเทียบเท่ากันก็ต่อเมื่อ จำนวนสมาชิกของทั้ง 2 เซต เท่ากัน
เช่น  A={a,b,c}   ,     B={1,2,3}
จำนวนสมาชิกของ A= จำนวนสมาชิกของ B= 3 ตัว
n( A ) = n ( B ) = 3
ดังนั้น เทียบเท่ากับเซต B

เซตจำกัด 
เซตใดๆเป็นเซตจำกัดก็ต่อเมื่อ เรารู้จำนวนสมาชิกของเซตนั้นแน่นอน
เช่น  A={1,2,3,…,100}  จะได้ n(A)=100        A เป็นเซตจำกัด
เซตอนันต์ 
เซตใดๆ จะเป็นเซตอนันต์ ก็ต่อเมื่อ จำนวนสมาชิกของเซตนั้นมากจนหาค่าไม่ได้
เช่น A={1,2,3,…}   จะได้ A เป็นเซตอนันต์

เซตว่าง 
เซตว่าง คือ เซตที่ไม่มีสมาชิกอยู่เลย เช่น { } = 0
สัญลักษณ์ที่ใช้แทนเซตจำนวน 
ใช้    R     แทนจำนวนจริง
Q    แทนจำนวนตรรกยะ
I    แทนจำนวนเต็ม

วิธีการเขียนเซต
  • ใช้การแจกแจง     X=1,2,3   A ={1,2,3}  โดย  X A
  • เขียนแบบบอกเงื่อนไขการเขียนเซตแบบกำหนดเงื่อนไขมีวิธีการเขียนดังนี้
1.เขียนวงเล็บปีกกา
2.เขียนตัวแปร
3.เขียนสัญลักษณ์ “ | ” ตามหลังตัวแปร สัญลักษณ์ตัวนี้อ่านว่า โดยที่
4.เขียนข้อความบรรยายเงื่อนไขตัวแปร ซึ่งเป็นเงื่อนไขของการเป็นสมาชิกของเซตนั้น
5.เขียนวงเล็บปีกกาปิด
ตัวอย่างเช่น
A = {X | X เป็นจำนวนคู่บวกที่น้อยกว่า 10}
เมื่อเขียน A ในแบบแจกแจงสมาชิกจะได้ดังนี้
A ={2,4,6,8}

สับเซต
ถ้าสมาชิกทุกตัวของ A เป็นสมาชิกของ B แล้ว จะเรียกว่า A เป็นสับเซตของ B จะเขียนว่า
เซต A เป็นสับเซตของเซต B แทนด้วย
 B
ถ้าสมาชิกบางตัวของ A ไม่เป็นสมาชิกของ B จะเรียกว่า A ไม่เป็นสับเซตของ B
เซต A ไม่เป็นสับเซตของเซต B แทนด้วย
 B
หมายเหตุ 
1. เซตทุกเซตเป็นสับเซตของตัวมันเอง (
 A)
2. เซตว่าง เป็นสับเซตของทุก ๆ เซต (ø 
A)
3. ถ้า
 ø แล้ว A = ø
4. ถ้า
 B และ  C แล้ว  C
5. A = B ก็ต่อเมื่อ
 B และ  A

เพาเวอร์เซต 
คำว่า เพาเวอร์เซต เป็นคำศัพท์เฉพาะ ซึ่งใช้เป็นชื่อเรียกเซตเซตหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับเรื่องสับเซต
เพาเวอร์เซตของ A  เขียนแทนด้วย  P(A)
P(A) คือเซตที่มีสับเซตทั้งหมดของ  A เป็นสมาชิก
ข้อควรรู้
  • ø´ = U                 U´ = ø
  • A – ø = A             ø – A = A
  •  
การพิสูจน์การเท่ากันของเซต
ทำได้ 2 วิธี 1.ใช้แผนภาพเวนน์-ออยเลอร์
2.ใช้สมบัติการดำเนินการบนเซต
สมบัติการดำเนินการบนเซต
สมบัติพื้นฐาน
  • A∪∅ = A  ,   AU = U
A = ø ,   AU = U
  • ABC = (AB)C = A(BC) = (AC)B
ABC = (AB)C = A(BC) = (AC)B
A(BC)  = (AB)(AC)
A(BC)   = (A B)(AC)
  • (A´)´ = A    (AB)´ = A´
(AB) ´ = A´
  • A-B = A


วันอังคารที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2556

ทิศทางและแผนผัง


ทิศหลักและทิศทั้งแปด
     ทิศหลักมี 4 ทิศ ทิศเหนือ ทิศใต้ ทิศตะวันออก ทิศตะวันตก
     ทิศที่อยู่กึ่งกลางระหว่างทิศหลักทั้งสี่ คือ
          - ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ อยู่ระหว่างทิศตะวันออกกับทิศเหนือ
          - ทิศตะวันออกเฉียงใต้ อยู่ระหว่างทิศตะวันออกกับทิศใต้
          - ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ อยู่ระหว่างทิศตะวันตกกับทิศเหนือ
          - ทิศตะวันตกเฉียงใต้ อยู่ระหว่างทิศตะวันตกกับทิศใต้
          ซึ่งแต่ละทิศทำมุม 45 องศา
จากทิศหลัก 4 ทิศและทิศย่อยอีก 4 ทิศ ยังมีชื่อเรียกทิศเหล่านี้อีกแบบ  คือ
     ทิศเหนือ (อุดร)
     ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ (อีสาน)
     ทิศตะวันออก (บูรพา)
     ทิศตะวันออกเฉียงใต้ (อาคเนย์)
     ทิศใต้ (ทักษิณ)
     ทิศตะวันตกเฉียงใต้ (หรดี)
     ทิศตะวันตก (ประจิม)
     ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ (พายัพ)
การบอกตำแหน่งโดยใช้ทิศ
    
การบอกตำแหน่งของวัตถุหรือสิ่งของโดยการใช้ทิศว่าตำแหน่งหนึ่งอยู่ทางทิศใดของอีกตำแหน่งหนึ่งนั้น ต้องมีสัญลักษณ์ช่วยในการบอกตำแหน่ง ซึ่งสัญลักษณ์ที่นิยมใช้แทนทิศเหนือ คือ   การบอกตำแหน่งของวัตถุหรือสิ่งของโดยการใช้ทิศว่าตำแหน่งหนึ่งอยู่ทางทิศใดของอีกตำแหน่งหนึ่งนั้น ต้องมีสัญลักษณ์ช่วยในการบอกตำแหน่ง ซึ่งสัญลักษณ์ที่นิยมใช้แทนทิศเหนือ คือ น. หรือ N


 

ทฤษฎีปิทาโกรัส
 1.ทฤษฎีบทของปิทาโกรัส (Pythagorean Theorem)
             ถ้า ABC เป็นรูปสามเหลี่ยมมุมฉากซึ่งมี มุม ACB เป็นมุมฉาก c แทนความยาวของด้านตรงข้ามมุมฉาก a และ b แทนความยาวด้านประกอบมุมฉาก จะได้ความสัมพันธ์ระหว่างความยาวของด้านทั้งสามของรูปสามเหลี่ยมมุมฉาก
                     c2 = a2 + b2
 ข้อสังเกต
                    นิยมใช้ a แทนความยาวของด้านตรงข้ามมุม A
                     นิยมใช้ b แทนความยาวของด้านตรงข้ามมุม B
                     นิยมใช้ c แทนความยาวของด้านตรงข้ามมุม C
 ตัวอย่าง
                     จงหาความยาวของด้านที่ 3 ของรูปสามเหลี่ยมมุมฉาก เมื่อกำหนดความยาวของด้าน 2 ด้านให้ดังต่อไปนี้
                     a = 7 , b = 24
วิธีทำ  
                    c2 = a2 + b2 
                    c2= 72 + 242
                    c2= 49 + 576
                    c2= 625 
                   c2=252
                  c = 25

2. บทกลับของปิทาโกรัส
             ถ้า ABC เป็นรูปสามเหลี่ยม มีด้านยาว a , b และ c หน่วย และ c2 = a2 + b2  จะได้ว่ารูปสามเหลี่ยม ABC เป็นรูปสามเหลี่ยมมุมฉาก และมีด้านยาว c หน่วยเป็นด้านตรงข้ามมุมฉาก
 ข้อสังเกต ในรูปสามเหลี่ยมมุมฉากใด ๆ ด้านตรงข้ามมุมฉากจะเป็นด้านที่ยาวที่สุด
3. การนำไปใช้งาน
           สามารถนำทฤษฎีปิทาโกรัสไปใช้ในการแก้ปัญหาโจทย์ที่เกี่ยวกับ ความกว้าง ความยาว หรือ ความสูงของสิ่งต่าง ๆ ได้


การหา(ค.ร.น)


ตัวคูณร่วมน้อย หรือ ค.ร.น. (อังกฤษleast common multiple: lcm) คือ จำนวนเต็มบวกที่มีค่าน้อยที่สุดซึ่งนำไปหารด้วยจำนวนเต็มบวกอื่นๆ ตั้งแต่ 2 จำนวนขึ้นไป แล้วจะได้ผลลัพธ์ลงตัวพอดี หรือกล่าวอีกนัยนึง คือ เมื่อเรามีจำนวนตัวเลขอยู่กลุ่มหนึง เราต้องการหาจำนวนเต็มบวกใดๆที่น้อยที่สุด โดยที่ตัวเลขทุกตัวในกลุ่มสามารถหารจำนวนนี้ได้ลงตัว ประโยชน์ในการใช้ เช่น เวลาบวกเลขเศษส่วนโดยที่ตัวส่วนไม่เท่ากัน เราจำเป็นต้องหา ค.ร.น ของตัวส่วนทั้งสอง เพื่อปรับเลขเศษส่วนโดยการคูณทั้งเศษและส่วน และทำเหมือนกันกับเลขเศษส่วนอีกตัวนึง เพื่อให้ตัวส่วนของจำนวนทั้งสองมีค่าเท่ากัน จึงจะสามารถบวกตัวเศษกันได้ อย่างเช่น 2/12 + 1/16 , ค.ร.น ของ 12 และ 16 = 48 เท่ากับว่า ตัวแรกต้องคูณด้วย 48/12 = 4 ทั้งเศษและส่วน และตัวที่สองต้องคูณด้วย 48/16 = 3 ทั้งเศษและส่วน ดังนั้นเราจึงสามารถคำนวณการบวกของเลขเศษส่วนได้ดังนี้ (2/12) * (4/4) + (1/16) * (3/3) = 8/48 + 3/48 = 11/48
ทำได้หลายวิธี ในที่นี้จะเน้นกล่าว 3 วิธีหลักๆที่เป็นที่นิยม
วิธีที่ 1 โดยการพิจารณาพหุคูณ
เช่น เราต้องการ ค.ร.น. ของ 6 , 9 และ 18
วิธีทำ พิจารณา พหุคูณ ของ 6,9 และ 18 ได้ดังนี้
  พหุคูณของ 6 คือ 6,12,18,24,30,36,42,48,54,60,66,72,...
พหุคูณของ 9 คือ 9,18,27,36,45,54,63,72,90,99,108,117,...
พหุคูณของ 18 คือ 18,36,54,72,90,108,126,144,162,180,198,216,...
  • พหุคูณร่วมของ 6,9,18 คือ 18,36,72,...
  • พหุคูณร่วมน้อยที่สุดของ 6,9,18 คือ 18
  • ดังนั้น 18 จึงเป็น ค.ร.น. ของ 6,9 และ 18
วิธีที่ 2 แยกตัวประกอบ
เช่น เราต้องการหา ค.ร.น ของ 18 24 210
  • ให้กระจายตัวประกอบออกมา
18 = 2x3x3
24 = 2x3x2x2
210 = 2x3x5x7
  • จากข้างบน ทั้ง 3 บรรทัด มี 2 เหมือนกัน อยู่ 1 ตัว (ลองเขียนในกระดาษแล้ววาดวงกลมล้อมคอลัมน์แรก (แถวแรกในแนวตั้ง)) และก็มี 3 เหมือนกัน อยู่อีก 1 ตัว (คอลัมน์ที่ 2) หยิบมาคูณกัน
2x3 = 6
  • นำตัวเลขที่เหลือ (ที่ไม่ได้วงกลม ในกรณีที่วาดในกระดาษตามที่แนะนำ) มาคูณต่อ ได้คำตอบของ ค.ร.น
6 (จากขั้นตอนที่แล้ว) x3x2x2x5x7 = 2520
  • การหา ค.ร.น. จะต้องเอาเลขที่แตกต่างจากพวกมากที่สุดไว้หน้า เช่น 12 = 3x2x2
วิธีที่ 3 การหารสั้น
วิธีนี้ เป็นวิธีที่ง่าย เพราะบางครั้งการแยกตัวประกอบ ค่อนข้างจะคำนวณยาก โดยเฉพาะผู้ที่เพิ่งเริ่มศึกษา
  • นำมาเขียนเรียงกัน โดยเว้นวรรคระหว่างจำนวนด้วย 18 24 210
  • ลองไล่เอา 2 หารดูว่าลงตัวทั้งหมดไหม ถ้าไม่ลงตัว ก็เปลี่ยนเป็น 3 ลองหารทั้งหมดดู ถ้าไม่ลงตัว ก็ลองใช้ 5 ลองหารดู โดยมีวิธีไล่ลำดับตัวเลขที่ใช้จากจำนวนเฉพาะ
 2,3,5,7,11,13,17,19,...
  • ทำซ้ำกับผลหารที่ได้จากข้อที่แล้ว ไปเรื่อยๆ จนไม่สามารถหารจำนวนเฉพาะมาหารได้ลงตัวอีกต่อไป
  • เอาเลขที่หารที้งหมดมาคูณกันแล้วคูณกับผลหารที่เหลืออยู่ ได้คำตอบ
ดูตัวอย่างประกอบ
2  ) 18 24 210
   --------------- 
     9  12 105
ลอง 2 หารอีก
2  )  9   12 105
   ----------------
     4.5  6  52.5
จะเห็นว่าหารไม่ลงตัว เพราะหารได้ผลติดทศนิยม เปลี่ยนเลขเป็นจำนวนเฉพาะถัดไป ได้แก่ 3

3 ) 9 12 105
   ----------------
      3   4   35
ถึงตรงนี้ เราจะไม่สามารถหาจำนวนเฉพาะใดๆเพื่อมาหารได้อีกต่อไป เราจึงนำเอาเลขที่หารที้งหมดมาคูณกันแล้วคูณกับผลหารที่เหลืออยู่ ได้คำตอบ

2x3x3x4x35 = 2520

อธิบายซ้ำ : เราสามารถเขียนภาพรวมได้ดังนี้
2  ) 18 24 210
   --------------     
3  ) 9  12 105
   --------------